analyticstracking
หัวข้อนับถอยหลัง 20 วัน ก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59
นับถอยหลัง 20 วัน ก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ประชาชน ตั้งใจจะไปลงประชามติร่างฯ รัฐธรรมนูญถึง 83.7 % ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 6%
ในขณะที่ความเห็นชอบรับร่างฯ กลับลดลงเหลือ 41.6 % ซึ่งลดลงจากเดิม 2.0 %
และมีผู้ไม่แน่ใจอยู่ถึง 39.6 %
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 อีก 20 วันจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กรุงเทพโพลล์โดย
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ นับถอย
หลัง 20 วัน ก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,876 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.7 ตั้งใจว่าจะไปออกเสียงลงประชา
มติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้เพิ่มขึ้น จากผลสำรวจ
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 6.0
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.6 ตั้งใจว่าจะไม่ไป
ที่เหลือร้อยละ 10.7 ยังไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามว่า “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่” ประชาชนร้อยละ 41.6 ระบุว่า
“เห็นชอบ” ซึ่ง ลดลง จากผลสำรวจเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 2.0
ขณะที่ร้อยละ 7.2 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.6 ส่วนร้อยละ 11.6
ระบุว่า “งดออกเสียง” และมีถึงร้อยละ 39.6 ที่ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”
 
                 ทั้งนี้ช่องทางที่ได้รับข้อมูล/ศึกษาเนื้อหา เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามตินั้น ประชาชนร้อยละ 42.1
ระบุว่าได้รับจากเว็บไซต์สำนักข่าว/ข้อมูลที่สื่อมวลชนนำมาเสนอ
รองลงมาร้อยละ 11.7 ระบุว่าได้รับจากการชี้แจงใน
ระดับชุมชนจากครู ค. และผ่านเสียงตามสายในชุมชน และร้อยละ 11.1 ระบุว่าได้รับเอกสารที่ได้รับแจกจาก อำเภอ/อบต.
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 3.6 ที่ระบุว่า ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ กรธ. และเว็บไซต์รัฐสภา โดยร้อยละ 27.8 ระบุว่ายังไม่ได้
รับข้อมูล/เอกสารจากช่องทางใดเลย
 
                 ส่วนความเห็นที่มีต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ว่าจะช่วยให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้
เพียงใด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.1 ระบุว่าช่วยได้มาก ขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุว่าช่วยได้น้อย ที่เหลือ
ร้อยละ 27.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความตั้งใจ จะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59

 
1 เดือนก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
20 วัน ก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น/ลดลง
(ร้อยละ)
ตั้งใจว่าจะไป
77.7
83.7
+ 6.0
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
10.4
5.6
- 4.8
ไม่แน่ใจ
11.9
10.7
- 1.2
 
 
             2. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ
                 ฉบับนี้หรือไม่”

 
1 เดือนก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
20 วัน ก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น/ลดลง
(ร้อยละ)
เห็นชอบ
43.6
41.6
- 2.0
ไม่เห็นชอบ
6.6
7.2
+ 0.6
งดออกเสียง
13.0
11.6
- 1.4
ไม่แน่ใจ
36.8
39.6
+ 2.8
 
 
             3. ช่องทางที่ประชาชนได้รับข้อมูล/ศึกษาเนื้อหา เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ คือ

 
ร้อยละ
จากเว็บไซต์สำนักข่าว/ข้อมูลที่สื่อมวลชนนำมาเสนอ
42.1
การชี้แจงในระดับชุมชนจากครู ค. และผ่านเสียงตามสายในชุมชน
11.7
เอกสารที่ได้รับแจกจาก อำเภอ/อบต.
11.1
ได้รับแจกจากการประชุม/ สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ
3.7
ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ กรธ. และรัฐสภา
3.6
ยังไม่ได้รับข้อมูล/เอกสารจากช่องทางใดเลย
27.8
 
 
             4. ความเห็นต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ว่าจะช่วยให้ประเทศสามารถเดินหน้า
                 ต่อไปได้เพียงใด

 
ร้อยละ
ช่วยได้มาก
(โดยแบ่งเป็น ช่วยได้มาก ร้อยละ 24.2 และช่วยได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 27.9)
52.1
ช่วยได้น้อย
(โดยแบ่งเป็น ช่วยได้น้อย ร้อยละ 10.1 และช่วยได้ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 10.6)
20.7
ไม่แน่ใจ
27.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะไปออกเสียงลงประชามติ
                 2) เพื่อสะท้อนความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
                 3) เพื่อทราบถึงและช่องทางการได้รับข้อมูลและศึกษาร่างรัฐธรรมนูญก่อนไปลงประชามติ
                 4) เพื่อทราบถึงทัศนคติที่มีต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 12 - 14 กรกฎาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 17 กรกฎาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
930
49.6
             หญิง
946
50.4
รวม
1,876
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
219
11.7
             31 – 40 ปี
377
20.1
             41 – 50 ปี
534
28.5
             51 – 60 ปี
474
25.3
             61 ปีขึ้นไป
272
14.4
รวม
1,876
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,202
64.1
             ปริญญาตรี
531
28.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
143
7.6
รวม
1,876
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
263
14.0
             ลูกจ้างเอกชน
456
24.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
690
36.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
96
5.1
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
308
16.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
37
2.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
24
1.3
รวม
1,876
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776